ยินดีต้อนรับ ยินดีต้อนรับ ยินดีต้อนรับจร้า

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บทที่ 8

1.ให้ผู้เรียนตอบคำถามต่อไปนี้ โดยเขียนตามความเข้าใจของผู้เรียน
1.1 การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร
                        ได้เรียนรู้วิธีการใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบต่างๆ ผลงานที่ดีนั้นต้องอาศัยความรู้และทักษะตลอดจนความคิดสร้างสรรค์ แต่ที่สำคัญที่สุดคือการสะสมประสบการณ์จากการที่ได้พบเห็น

1.2 หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
            การดึงดูดความสนใจ โดยการออกแบบให้สิ่งที่ปรากฏต่อสายตานั้นชวนมอง และมีความสบายตาสบายใจเมื่อมอง
            ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา ส่วนที่เป็นข้อความต้องสั้นแต่ได้ใจความชัดเจน ส่วนที่เป็นภาพประกอบต้องมีส่วนสัมผัสอย่างสร้างสรรค์กับข้อความที่ต้องการสื่อความหมาย
ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย สร้างจุดเน้นต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมาย

1.3 การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
            การบรรยายสด เหมาะสำหรับการประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วมเพราะผู้บรรยายในกรณีนี้เป็นผู้ที่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างดี
ส่วนการพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่ถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม ข้อดีคือสามารถเลือกเสียงพากย์ที่มีความไพเราะน่าฟังสามารถใช้ดนตรีประกอบ

1.4 เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
            การนำเสนอแบบ Slide Presentation
-                  โปรแกรม Power Point
-                  โปรแกรม ProShow Gold
-                  โปรแกรม Flip Album
           
1.5 รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไร

            การนำเสนอแบบ Slide Presentation

วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บทที่ 7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน

1.จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆว่ามีกี่ประเภท
            มี 4 ประเภท
            1. อินทราเน็ต (Intranet) เป็นเครือข่ายภายในสำหรับองค์กรหนึ่ง ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร หรือข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์ขององค์กร
            2. เอกซ์ทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายภายในสำหรับองค์กรแต่เปิดให้สมาชิกภายนอกที่ได้รับอนุญาตติดต่อเชื่อมกับเครือข่ายได้
            3. อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายส่วนบุคคลเนื่องจากมีเจ้าของและเจ้าของเป็นผู้กำหนดว่าใครบ้างสามารถเป็นสมาชิกเครือข่ายได้
            4. รูปแบบของข้อมูลในเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ

2.อินทราเน็ต (Intranet) หมายความว่าอย่างไร
            เป็นเครือข่ายภายในสำหรับองค์กรหนึ่ง ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร หรือข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์ขององค์กร คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอาจอยู่ภายในตึกเดียวกัน หรือกระจายอยู่ทั่วประเทศขึ้นอยู่ว่าองค์กรนั้นมีขนาดเล็กหรือใหญ่ มีสาขามากน้อยเพียงใด

3.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
            - www.google.com             
    www.excite.com                 

4.จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ Google พอสังเขป
            1. ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://www.google.co.th/
           2. เลือกหัวข้อที่ต้องการค้น ในที่นี้จะเลือกหัวข้อ เว็บ
           3.พิมพ์ keyword (ข้อความ) ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box
            4. กดที่ปุ่ม ค้นหา
            5. ระบบจะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่ตรงกับ keyword ที่ต้องการ และแสดงออกมาในรูปแบบของลิงค์พร้อมคำอธิบายประกอบ
 
5.Digital library หมายความว่าอย่างไร
            ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดเก็บสารสนเทศในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์

6.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ประเภทของการศึกษา
            http://www.school.net.th
            http://www.learn.in.th


บทที่ 6 อินเทอร์เน็ต

1.อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายวามว่าอย่างไร
            - เครือข่ายนานาชาติหรือเครือข่ายสากล คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน ในปัจจุบันมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันอยู่มากกว่า 60 ล้านเครื่องมาเชื่องโยงและแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน จะต้องใช้เกณฑ์วิธีหรือโพรโทคอล (protocol) เดียวกันจึงจะเข้ากันและเกณฑ์วิธีที่นำมาใช้กับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในปัจจุบันมีชื่อเรียกว่าทีซีพี/ไอพี (TCP/IP)

2.จงอธิบายความสำคัญของอินเทอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
            - สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง และอื่นๆ ที่เราสนใจ
            ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
และยังสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาลัยหรือโรงเรียนอื่นๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ

3.จงบอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
            - ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สะดวกและรวดเร็ว
            -ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้
            -ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบได้
            - สามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ
            - ให้ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ
            -ใช้สื่อสารด้วยข้อความ ซึ่งเป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน
            - ใช้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
            - ซื้อขายสินค้าและบริการ

4.การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem หมายความว่าอย่างไร
            - เป็นการเชื่อมต่อของบุคคลธรรมดาทั่วไปซึ่งสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ อาจจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์โมเดม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก โดยผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP เพื่อขอเชื่อมต่อผ่านทาง SLIP หรือ PPP account

5.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www มีประโยชน์อย่างไร
            - เป็นบริการระบบข่าวสารที่มีข้อมูลอยู่ทุกแห่งในโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นสามารถอยู่ในหลายรูปแบบแตกต่างกัน ข้อมูลเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงเป็นระบบสามารถสืบค้นได้ง่าย

6.จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ E-mail
            - ทำให้การติดต่อสื่อสารทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วทันที
            - สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับที่ต้องการได้ทุกเวลา
            - ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางไปส่งจดหมาย
            - ผู้รับจดหมายสามารถเรียกอ่านจดหมายได้ทุกเวลา
            - สามารถถ่ายดอนแฟ้มข้อมูลได้


วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์

            คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง
ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์  แบ่งออกเป็น  5  ส่วนคือ
ส่วนที1หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)  
               เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อ ทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู่ระบบ เพื่อกำหนดให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการ ได้แก่
              - แป้นอักขระ (Keyboard)
              -แผ่นซีดี (CD-Rom)
              -ไมโครโฟน (Microphone) เป็นต้น
ส่วนที2 หน่วยประมวลผลกลาง    (Central Processing Unit)
             ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
 ส่วนที่3 หน่วยความจำ  (Memory Unit)
               ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
ส่วนที่4  หน่วยแสดงผล (Output Unit)
        ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว
ส่วนที่5  อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ(Peripheral Equipment)
             เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม (modem) แผงวงจรเชื่อมต่อ เครือข่าย เป็นต้น
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1. มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้รวดเร็วเพียงชั่ววินาที จึงใช้ในงานคำนวณต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
2. มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทำงานได้ตลอด 24 ชั่งโมง ใช้แทนกำลังคนได้มาก
3. มีความถูกต้องแม่นยำ ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4. เก็บข้อมูลได้มาก ไม่เปลืองเนื้อที่เก็บเอกสาร
5. สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน
ระบบคอมพิวเตอร์
หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆ กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่น ระบบเสียภาษี  ระบบทะเบียนราษฎร์  ระบบทะเบียนการค้า  ระบบเวชระเบียนของโรงพยาบาล เป็นต้น
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือส่วนเครื่อง
2.ซอฟแวร์ (Software) หรือส่วนชุดคำสั่ง
3.ข้อมูล (Data)
4.บุคลากร (Peopleware)
ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง
หน่วยความจำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับเพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามาประมวลผล เมื่อเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรม หากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทางไฟฟ้า อาจทำให้ข้อมูลสูญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำรอง เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป หน่วยความจำประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภายนอก เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึก ชิปดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี เทปแม่เหล็ก หน่วยความจำแบบแฟลช หน่วยความจำรองนี้ ถึงจะไม่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถทำงานได้ปกติ  
บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)
บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียว หรือ หลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของ หน่วยงานคอมพิวเตอร์ 
ประเภทของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)
1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน 
2.
 ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม 
3.
 ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ 
บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์ 
1. หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์(EDPManager)
2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน(SystemAnalyst หรือ SA)
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
4.
 ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์(ComputerOperator)
5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล (Data Entry Operator)                                                                

Internet

Internet คืออะไร
Internet คือ ระบบเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกันโดยใช้ protocol มาตรฐานสำหรับinternet (IP) เพื่อบริการแก่ผู้ใช้จำนวนหลายพันล้านคนทั่วโลก เป็นเครือข่ายของเครือข่ายทั้งหลาย (network of networks)
ความสำคัญของ internet ในการศึกษา
-เป็นขุมคลังอันมหึมาของสารสนเทศ
            -มีข่าวสารข้อมูลใน Internet ให้เข้าถึงได้แบบ online / สามารถเข้าถึงสารสนเทศในเวลาใดเวลาหนึ่งได้
            -แหล่งทรัพยากรสารสนเทศ online ที่ใหญ่ที่สุดก็คือ encyclopedia ที่ใครก็สามารถเข้าถึงสารสนเทศonline นี้ ได้ตามที่ต้องการ
ISP หรือ Internet Service Provider
หน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ทำหน้าที่เสมือนประตูเปิดการเชื่อมต่อให้บุคคลหรือองค์กรสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้
            การเชื่อมต่อของอินเทอร์เน็ต
ผ่าน ISP โดยมีอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เหมาะสมในการแปลงสัญญาณผ่านสื่อที่จะใช้แต่ละประเภท
วิธีที่1 ต่อผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา โดยมีโมเด็ม(modem)ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์แล้วต่อเข้ากับสายโทรศัพท์ ถ้าเป็นสายISDN (Integrated Services Digital Network)ต้องใช้โมเด็ม ISDN โดยเฉพาะ

วิธีที่2 ต่อด้วยอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่เรียกว่า ADSL หรือบรอดแบรนด์ โดยใช้โมเด็มชนิด ADSL ที่ต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับสายโทรศัพท์ แต่จะรับส่งสัญญาณในสายคนละแบบคนละความถี่กัน ซึ่งจะทำให้ได้ความเร็วสูงขึ้นกว่าโมเด็มธรรมดา และต้องอาศัยอุปกรณ์พิเศษที่ชุมสายจึงจะใช้ได้เมื่อเชื่อมต่อกับระบบโทรศัพท์ได้แล้ว ก็หมุนหมายเลขโทรศัพท์ปลายทางไปยัง ISP  เรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า Dial- Up

ซอฟต์แวร์ Software

ซอฟต์แวร์  (Software)
ซอฟต์แวร์  คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไร  เป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการ  เรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามารถสร้าง จัดเก็บ และนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิดเช่น  แผ่นบันทึก  แผ่นซีดี  แฟล็ชไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์  เป็นต้น
หน้าที่ของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์ เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท
ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
            1. ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) 

            2. ตัวแปลภาษา

ชนิดของระบบปฏิบัติการ จำแนกตามการใช้งานสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ชนิดด้วยกัน คือ
1 ประเภทใช้งานเดียว (Single-tasking)
    ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส เป็นต้น
2 ประเภทใช้หลายงาน (Multi-tasking)
    ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกัน ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows 98 ขึ้นไป และUNIX เป็นต้น
3 ประเภทใช้งานหลายคน (Multi-user)
    ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคน แต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูง เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลา เช่น ระบบปฏิบัติการWindows NT และ UNIX เป็นต้น
 ซอฟต์แวร์ประยุกต์
(Applicafion Software)

  ซอฟต์แวร์ประยุกต์
(Application Software)
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนองาน การจัดทำบัญชี การตกแต่งภาพ หรือการออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น
      ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์
แบ่งตามลักษณะการผลิต จำแนกได้เป็น 2
ประเภท คือ
1.           ซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ (Proprietary Software)
2.           ซอฟแวร์ที่หาซื้อได้ทั่วไป (Packaged Software)
            มีทั้งโปรแกรมเฉพาะ (Customized Package) และ โปรแกรมมาตรฐาน (Standard Package)

วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

หลุมดำยักษ์

นับว่าเป็นข่าวสร้างความตื่นตระหนกอีกครั้ง รายงานข่าวจากเมืองคมบริดจ์ รัฐแมสซาจูเสทสหรัฐอเมริกา ที่ตั้งสำนักงานนาซาองค์การสำรวจอวกาศซึ่งได้ส่งกล้องโทรทรรศน์เอกซเรย์ขึ้นสู่วงโคจรของโลก เพื่อจับภาพความเคลื่อนไหวในอวกาศ ได้แก่วัตถุที่โคจรเข้าสู่โลกหรือเข้ามาในเขตใจกลางของสุริยจักรวาล
กล้องโทรทรรศน์เอกซเรย์ตัวนี้ส่งคลื่นเอกซเรย์ออกไปแล้ว มีจานรับสัญญาณแปลงคลื่นในระบบดิจิตอล จึงไม่อาจมีสิ่งแปลกปลอมหลุดรอดการตามล่าไปได้นาซาตั้งชื่อกล้องโทรทรรศน์มูลค่าพันกว่าล้านดอลลาร์หรือ 40,000 ล้านบาทไทยว่า จันทร” (Chandra) กล้องโทรทรรศน์เอกซเรย์จันทราพบสิ่งผิดปกติมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาจนบันนี้มีข่าวรั่วจากนาซาว่าสิ่งผิดปกติที่พบนั้นคือ หลุมดำ (Black hole) หรือนรกดำที่กำลังเคลื่อนที่มายังสุริยจักรวาลด้วยความเร็วกว่าล้านไมล์ต่อชั่วโมง
หลุมดำดังกล่าวนี้มีขนาดใหญ่กว่าระบบสุริยจักรวาลเสียอีก นั่นก็หมายความว่าหากเคลื่อนผ่านตรงดิ่งมาโดยไม่เปลี่ยนทิศทาง ไม่เพียงชะตากรรมของมนุษย์โลกจะสิ้นสุดลงแล้ว สุริยจักรวาลทั้งระบบก็ถูกดูดกลืนหายไปในความมืดมิดของนรกดำนี้ด้วย

ดร.จีราร์ด โฮลท์เซียน นักฟิสิกส์อวกาศ ผู้ซึ่งเคยทำงานให้นาซามาก่อนกล่าวว่า โลกของเราจะถูกหลุมดำดูดเข้าไปด้วยแรงดูดมหาศาล จากนั้นบดขยี้กลายเป็นเศษฝุ่นเล็กๆพอกับอณู

หลุมดำคืออะไร ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ไม่อาจอธิบายรูปลักษณ์ได้มากนัก รู้เพียงว่ามันมีสภาพคล้ายกลุ่มก๊าซ กลุ่มควัน ซึ่งหมุนอยู่รอบตัวคล้ายพายุเฮอริเคน แต่ความเร็วหมุนนั้นไม่อาจมีมาตรามาวัดได้ ความเร็วหมุนนี่เองได้ดูดทุกสรรพสิ่งเข้าไปในหลุมดำ ไม่ว่าสิ่งนั้นเป็นวัตถุธาตุ เป็นก๊าซ เป็นดวงดาว เป็นแสงสว่าง และรวมทั้งกาลเวลาด้วย แรงหมุนมากมายมหาศาลทำให้ตรงใจกลางของการหมุนปราศจากสี กลายเป็นความกำมืด ก็เพราะมันดูดทุกสรรพสิ่งเข้าไปนั่นเอง ขนาดของหลุมดำมีไม่แน่นอน เช่นเดียวกับการเคลื่อนที่ไปทิศทางใดของจักรวาลก็ไม่มีใครรู้แน่ชัด สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์พอมีข้อมูลอยู่บ้างถึงการถือกำเนิดของหลุมนรกดำ เกิดจากปากฎการณ์เรียกว่า ซูเปอร์โนวาหรือการแตกตัวการระเบิดของกลุ่มดาว หรือดาวเคราะห์ ซึ่งถึงเวลาแตกดับ  ก่อนเกิดปรากฎการณ์ซูเปอร์โนวา ดาวถึงเวลาดับนั้นจะหดตัวเข้าหากันเรื่อยๆใช้เวลานับล้านๆปี จากนั้นขยายตัวออกเป็น 3 เท่า แล้วระเบิดเป็นจุล ซึ่งสุริยจักรวาลของเราก็เกิดขึ้น จากปรากฏการณ์ซูเปอร์โนวานี่เอง ทั้งนี้นักดาราศาสตร์พบหลักฐานบริเวณสุริยจักรวาลมีฝุ่นควันก้อนอุกกาบาตน้อยใหญ่และน้ำแข็งยังปกคลุมภายในเป็นรัศมีวงกลม หากมองจากจักรวาลอื่นๆพบว่าสุริยจักรวาลของเรามีหมอกควันปกคลุมอยู่ หลังจากการระเบิดของซูเปอร์โนวา ความร้ายแรงจะขยายไปยังดวงดาวใกล้เคียงระเบิดต่อๆกัน
แต่เนื่องจากแรงดึงดูดในจักรวาลยังอยู่ ธาตุหรือแกนยังไม่สูญสลายไปไหน ดวงดาวที่แตกสลายจะกลับมารวมกันใหม่ นี่เองจึงเกิดการหมุนอย่างรุนแรงขึ้นและหมุนเร็วขึ้นเรื่อยๆ แกนกลางของหลุมดำนั้นนักวิทยาศาสตร์คาดว่าแข็งแกร่งกว่าเพชรหลายล้านเท่า
นักวิทยาศาสตร์เคยคิดว่า ในหลุมดำนี่เองมีโพรงสำหรับการท่องจักรวาลได้ ในเมื่อหลุมดำไม่มีอะไรเลยแม้แต่กาลเวลา ก็น่าจะเป็นช่องทางสำหรับการเคลื่อนที่ได้เร็มกว่าความเร็วแสง หลุมดำได้ชื่อว่าเป็นตัวกินดวงดาว ตัวดูดกลืนทุกสรรพสิ่งในจักรวาลดร.จีราร์ด กล่าว
เรื่องราวของหลุมดำ นักวิทยาศาสตร์พบเค้าลางในปี 1960 แต่ไม่มั่นใจว่ามันคืออะไร จะเป็นกลุ้มก๊าซ กลุ่มดาวก็ไม่ใช่ นี่เองนาซาจึงสร้างโครงการอวกาศดับเบิลเปซและอื่นๆตามมาอีกหลายโครงการ เพื่อส่งกล้องไปจับภาพสิ่งแปลกปลอมที่กำลังเคลื่อนที่เข้ามาใกล้สุริยจักรวาล
สำหรับกล้องโทรทรรศน์จันทรา นับว่าเป็นกล้องที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในโลกมนุษย์ที่เคยผลิตขึ้นมาได้ และเมื่อปลายปีมานี่เอง กล้องจันทราจับภาพหลุมดำได้ หลุมดำเป็นเรื่องร้ายแรง


ดังนั้นนาซาเก็บภาพที่กล้องจันทราถ่ายไว้ได้เป็นความลับสุดยอด ดวงตาของคนเรานั้น ไม่อาจจับภาพ มองเห็นภาพขอหลุมดำได้เลย เพราะมันหมุนด้วยความเร็วไม่อาจประมาณได้แต่กล้องจันทราจับภาพได้ พร้อมกับคำนวณว่าหลุมดำเคลื่อนที่ด้วยความเร็วล้านไมล์ต่อชั่วโมง




วิวัฒนาการรุ่นต่อไปของมนุษย์โลก ในอนาคต

ในอนาคต เทคโนโลยี จะเข้ามาที่ทุกสิ่งทุกอย่างทำให้มนุษย์แทบจะไม่ต้องใช้แรง การกรtทำสิ่งต่างๆร่างกายจะเกิดการวิวัฒนาการไปตามสภาพแวดล้อมที่ไม่ต้องใช้แรงเทคโนโลยีในอนาคต เราสามารถสั่งงานโดยผ่านคลื่นสมองและใช้สมองในการรับรู้สิ่งต่างๆ นั่นหมายความว่า ความสำคัญของการของประสาทสัมผัสของหูจะลดน้อยลง และจะค่อยๆหายไปสำหรับดวงตา คาดว่าจะวิวัฒนาการ ในการมองเห็นที่หลากหลายมิติมากขึ้น


ตัวอย่าง เทคโนโลยีในอนาคต ที่สามารถสั่งงานโดยผ่านคลื่นสมอง

หญิงอัมพาตคนหนึ่ง ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากว่า 15 ปี  ตอนนี้สามารถสั่งการผ่านหุ่นยนต์ให้ทำงานแทนเธอได้ เพียงแค่ใช้คลื่นสมองของเธอเอง เป็นคนแรกของโลก

อีกตัวอย่างนั้นคือ เจ้าหุ่นยนต์ Asimo จากทาง Honda ที่ควบคุมสั่งการผ่านทางคลื่นสมอง
สามารถยกมือและขาได้เพราะสัญญาณไฟฟ้าที่แปลงมาจากคลื่นสมองของมนุษย์ล้วนๆ




บริษัทสถาบันวิจัยฮอนด้า Honda Research Institute Japan Co., Ltd. ในเครือบริษัท Honda R&D
ร่วมมือกับสถาบันวิจัยเทคโนโลยีก้าวหน้านานาชาติ Advanced Telecommunications Research Institute International (ATR) และบริษัท Shimadzu Corporation พัฒนาเทคโนโลยีเครื่องติดต่อสมองหรือ Brain Machine Interface (BMI) ซึ่งนำเทคโนโลยีการตรวจคลื่นสมอง EEG และเทคนิคการวิเคราะห์การกระทำ near-infrared spectroscopy (NIRS) มาใช้ในการแปลงคลื่นสมองเป็นสัญญาณไฟฟ้าสำหรับสั่งการหุ่นยนต์อย่างแท้จริงจากการสาธิต อาสิโมสามารถเคลื่อนไหวได้โดยที่ผู้สาธิตไม่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อกดปุ่มใดๆ เชื่อว่าเทคโนโลยีแสนสบายนี้จะถูกนำไปพัฒนาเป็นแอปพลิเคชันเพื่อใช้ในนานาอุปกรณ์อัจฉริยะหรือหุ่นยนต์ในอนาคต     ส่วนที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาเทคโนโลยี BMI นั้นอยู่ที่การตรวจจับและวิเคราะห์การหมุนเวียนของเลือดและความเปลี่ยนแปลงภายในสมองขณะเกิดความคิด ข้อมูลระบุว่าเซ็นเซอร์ตรวจจับคลื่นสมอง EEG จะทำหน้าที่เป็นตัวแปลงคลื่นสมองที่ได้ให้อยู่ในรูปสัญญาณไฟฟ้า ขณะที่เซ็นเซอร์การวิเคราะห์ NIRS จะทำหน้าที่แปลงการหมุนเวียนของเลือดในสมองออกมาเป็นคำสั่ง โดยระบบ BMI จะรวบรวมข้อมูลที่สลับซับซ้อนจากเซ็นเซอร์ทั้งสองชนิดเพื่อนำมาประมวลผล และส่งออกสัญญาณคำสั่งที่ได้ไปยังหุ่นยนต์
       สถาบันวิจัยฮอนด้าและ ATR เปิดตัวเทคโนโลยี BMI ตั้งแต่ปี 2006 เริ่มจากการใช้เครื่องสแกนภาพ functional magnetic resonance imaging (fMRI) ใช้คลื่นวิทยุและสนามแม่เหล็กที่มีความเข้มสูงกว่าการฉายแสงมาสแกนสมองเพื่อดูว่าสมองส่วนไหนมีเส้นเลือดที่ขยายตัวเป็นพิเศษ ซึ่งภาพที่ได้จะสามารถแสดงความแตกต่างของสมองในภาวะแตกต่างกันได้ แต่ด้วยข้อจำกัดด้านสถานที่และเงื่อนไขในการใช้งานทำให้หันมาใช้เซ็นเซอร์ EEG และ NIRS ซึ่งมีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่าแทน