ยินดีต้อนรับ ยินดีต้อนรับ ยินดีต้อนรับจร้า

วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิวัฒนาการรุ่นต่อไปของมนุษย์โลก ในอนาคต

ในอนาคต เทคโนโลยี จะเข้ามาที่ทุกสิ่งทุกอย่างทำให้มนุษย์แทบจะไม่ต้องใช้แรง การกรtทำสิ่งต่างๆร่างกายจะเกิดการวิวัฒนาการไปตามสภาพแวดล้อมที่ไม่ต้องใช้แรงเทคโนโลยีในอนาคต เราสามารถสั่งงานโดยผ่านคลื่นสมองและใช้สมองในการรับรู้สิ่งต่างๆ นั่นหมายความว่า ความสำคัญของการของประสาทสัมผัสของหูจะลดน้อยลง และจะค่อยๆหายไปสำหรับดวงตา คาดว่าจะวิวัฒนาการ ในการมองเห็นที่หลากหลายมิติมากขึ้น


ตัวอย่าง เทคโนโลยีในอนาคต ที่สามารถสั่งงานโดยผ่านคลื่นสมอง

หญิงอัมพาตคนหนึ่ง ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากว่า 15 ปี  ตอนนี้สามารถสั่งการผ่านหุ่นยนต์ให้ทำงานแทนเธอได้ เพียงแค่ใช้คลื่นสมองของเธอเอง เป็นคนแรกของโลก

อีกตัวอย่างนั้นคือ เจ้าหุ่นยนต์ Asimo จากทาง Honda ที่ควบคุมสั่งการผ่านทางคลื่นสมอง
สามารถยกมือและขาได้เพราะสัญญาณไฟฟ้าที่แปลงมาจากคลื่นสมองของมนุษย์ล้วนๆ




บริษัทสถาบันวิจัยฮอนด้า Honda Research Institute Japan Co., Ltd. ในเครือบริษัท Honda R&D
ร่วมมือกับสถาบันวิจัยเทคโนโลยีก้าวหน้านานาชาติ Advanced Telecommunications Research Institute International (ATR) และบริษัท Shimadzu Corporation พัฒนาเทคโนโลยีเครื่องติดต่อสมองหรือ Brain Machine Interface (BMI) ซึ่งนำเทคโนโลยีการตรวจคลื่นสมอง EEG และเทคนิคการวิเคราะห์การกระทำ near-infrared spectroscopy (NIRS) มาใช้ในการแปลงคลื่นสมองเป็นสัญญาณไฟฟ้าสำหรับสั่งการหุ่นยนต์อย่างแท้จริงจากการสาธิต อาสิโมสามารถเคลื่อนไหวได้โดยที่ผู้สาธิตไม่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อกดปุ่มใดๆ เชื่อว่าเทคโนโลยีแสนสบายนี้จะถูกนำไปพัฒนาเป็นแอปพลิเคชันเพื่อใช้ในนานาอุปกรณ์อัจฉริยะหรือหุ่นยนต์ในอนาคต     ส่วนที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาเทคโนโลยี BMI นั้นอยู่ที่การตรวจจับและวิเคราะห์การหมุนเวียนของเลือดและความเปลี่ยนแปลงภายในสมองขณะเกิดความคิด ข้อมูลระบุว่าเซ็นเซอร์ตรวจจับคลื่นสมอง EEG จะทำหน้าที่เป็นตัวแปลงคลื่นสมองที่ได้ให้อยู่ในรูปสัญญาณไฟฟ้า ขณะที่เซ็นเซอร์การวิเคราะห์ NIRS จะทำหน้าที่แปลงการหมุนเวียนของเลือดในสมองออกมาเป็นคำสั่ง โดยระบบ BMI จะรวบรวมข้อมูลที่สลับซับซ้อนจากเซ็นเซอร์ทั้งสองชนิดเพื่อนำมาประมวลผล และส่งออกสัญญาณคำสั่งที่ได้ไปยังหุ่นยนต์
       สถาบันวิจัยฮอนด้าและ ATR เปิดตัวเทคโนโลยี BMI ตั้งแต่ปี 2006 เริ่มจากการใช้เครื่องสแกนภาพ functional magnetic resonance imaging (fMRI) ใช้คลื่นวิทยุและสนามแม่เหล็กที่มีความเข้มสูงกว่าการฉายแสงมาสแกนสมองเพื่อดูว่าสมองส่วนไหนมีเส้นเลือดที่ขยายตัวเป็นพิเศษ ซึ่งภาพที่ได้จะสามารถแสดงความแตกต่างของสมองในภาวะแตกต่างกันได้ แต่ด้วยข้อจำกัดด้านสถานที่และเงื่อนไขในการใช้งานทำให้หันมาใช้เซ็นเซอร์ EEG และ NIRS ซึ่งมีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่าแทน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น